#โรคไต #ปลูกถ่ายไต #ไต #eGenesis

eGenesis ประสบความสำเร็จ เปลี่ยน “ไตหมู” ให้กับคนครั้งแรกของโลก

 

อัตราการป่วย “โรคไต” ทั่วโลกสูงขึ้น เนื่องจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเพิ่มขึ้นของ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ทั่วโลกพบการเสียชีวิตจาก “โรคไต” มากถึง 1.4 ล้านคน และมีอัตราสูงขึ้นต่อเนื่อง 20%  ส่วนสถานการณ์การป่วยโรคไตในประเทศไทย ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในปี 2565 พบว่า 1 ใน 25 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง กลายเป็นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังรายใหม่ มีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3 จำนวน 420,212 ราย ระยะ 4 จำนวน 420,212 ราย และระยะที่ 5 ที่ต้องล้างไตจำนวนกว่า 62,386 ราย

 

โดย การป่วย “โรคไต” นับว่าเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อร่างกายอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยจะต้องรักษา และล้างไตไปตลอดชีวิต ทำให้เป็นโจทย์ใหญ่ที่สำคัญของวงการแพทย์ทั่วโลก ซึ่งแม้ว่าโรคนี้จะรักษาได้ด้วยการเปลี่ยนถ่ายไต แต่ก็มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถหาไตได้ โดยในปัจจุบัน ชาวอเมริกันมากกว่า 100,000 คน กำลังรอรับการปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคมนุษย์ และมีเพียง 25,000 ไตที่ได้รับการปลูกถ่ายในแต่ละปี โดยมีคนตายระหว่างการรอการปลูกถ่ายอวัยวะประมาณ 12 คนต่อวัน และถึงแม้ได้รับการเปลี่ยนไตแล้ว ก็มีโอกาสสูงที่ไตใหม่จะอยู่ได้ไม่นาน

 

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีใหม่ในการใช้ไตหมู ซึ่งเป็นไตดัดแปลงพันธุกรรมของบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ eGenesis ก็ได้เข้ามาเป็นความหวังใหม่ของผู้ป่วยโรคไต โดยผู้ป่วยรายแรกที่ใช้เทคโนโลยีนี้ เกิดขึ้นในวันที่ 16 มีนาคม 2024 Richard Slayman อายุ 62 ปี ซึ่งมีชีวิตอยู่กับโรคไตระยะสุดท้าย ร่วมกับโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เขาได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตอีกครั้ง จากหมูที่ดัดแปลงพันธุกรรม และประสบความสำเร็จด้วยดี สามารถออกจากโรงพยาบาลในวันพุธที 3 เมษายน 2024 จากนั้นก็ได้กลับไปดูแลตัวเองต่อที่บ้าน ซึ่งในครั้งนี้ถือว่าเป็นความสำเร็จครั้งแรกของโลก และอาจเป็นมิติใหม่ในการรักษาผู้ป่วยโรคไตของโลก ลดการพึงพาไตของผู้บริจาคที่หาได้ยาก และไม่ต้องไปรักษาด้วยการฟอกไต

.

สำหรับ Richard Slayman ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่รับไตหมู เขาฟื้นตัวได้ดีหลังการผ่าตัดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ตามที่ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายของเขาระบุ แต่ทั้งนี้ Slayman ยังคงได้รับยากดภูมิคุ้มกันจนถึงขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณของการปฏิเสธอวัยวะ โดยเป้าหมายของ eGenesis คือ การค้นหาการผสมผสานของการตัดต่อทางพันธุกรรมในสุกร ซึ่งทำให้ผู้รับอวัยวะไม่จำเป็นต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะทำให้ความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับเชื้อโรคลดลง

 

โดยใช้แนวทางการกำจัดยีน 3 ตัวที่มีส่วนช่วยในการผลิตน้ำตาล 3 ชนิดบนผิวเซลล์สุกร ซึ่งจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์โจมตีเซลล์ที่มีน้ำตาลเหล่านี้ ซึ่งระบบมองว่าเป็นลักษณะเด่นของผู้บุกรุกจากนอกร่างกาย มีการเพิ่มยีนของมนุษย์เจ็ดยีน ที่ผลิตโปรตีนที่ช่วยป้องกันการปฏิเสธอวัยวะ และยังได้มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมอีก 69 ครั้ง เพื่อยับยั้งไวรัสที่ฝังอยู่ในจีโนมหมู การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้แก้ไขความเสี่ยงที่ไวรัสจะทำงานในร่างกายมนุษย์

 

ทั้งนี้ ก่อนการผ่าตัดปลูกถ่ายไตหมู ระดับเลือดของสารประกอบที่เรียกว่าครีเอตินีน ซึ่งระดับสูงบ่งชี้ว่าไตทำหน้าที่กรองของเสียได้ไม่ดีนัก ก่อนการปลูกถ่าย ระดับครีเอตินีนของ Slayman อยู่ที่ 10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ลดลงเหลือ 2.4 ภายในวันที่สี่หลังการผ่าตัด เขาหวังว่ามันจะลดลงเหลือ 1.5 ซึ่งอยู่ในระดับปกติ

 

โดย Luhan Yang ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Qihan Biotech ในเมืองหางโจว ประเทศจีน และหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพที่ผลิตสุกร eGenesis กล่าวว่า กรณีนี้แสดงให้เห็นว่า อย่างน้อยในระยะสั้น อวัยวะเหล่านี้ปลอดภัยและทำงานได้ตามที่คาดหวัง บริษัทกำลังหารือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) เกี่ยวกับการวางแผนการทดลองทางคลินิกสำหรับการปลูกถ่ายไตหมูและหัวใจในเด็ก รวมถึงการใช้ตับหมูที่จะเชื่อมต่อกับผู้รับจากภายนอกร่างกาย

 

อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ การปลูกถ่ายอวัยวะสัตว์ให้เป็นมนุษย์ในสหรัฐฯ ได้รับการอนุมัติจาก FDA บนพื้นฐานของ “การใช้ความเห็นอกเห็นใจ” ซึ่งเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก แต่ Yang หวังว่าผลลัพธ์ล่าสุดจะผลักดันให้ FDA อนุมัติการทดลองทางคลินิกเต็มรูปแบบ การปลูกถ่ายซีโนทรานส์สามารถให้ความหวังและชีวิตแก่ผู้ป่วยและครอบครัวของพวกเขา ซึ่งการทดลองทางคลินิกจะทำให้เกิดข้อมูลที่เข้มงวดซึ่งมีความจำเป็นมากเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการปลูกถ่ายด้วยเทคโนโลยีนี้

 

ด้าน Wayne Hawthorne ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ใน Westmead ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า ความสำเร็จของการผ่าตัดครั้งนี้ทำให้ชุมชนการปลูกถ่ายซีโนทรานส์เข้าใกล้วิธีแก้ปัญหาการขาดแคลนอวัยวะมนุษย์ที่ช่วยชีวิตได้ ในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว มีคนเกือบ 90,000 คนที่รอการปลูกถ่ายไต และมากกว่า 3,000 คนเสียชีวิตทุกปีระหว่างรอ แม้ว่าอัตราการบริจาคอวัยวะจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่เรายังคงต้องการอวัยวะนับล้านเพื่อการปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย