#พลาสติกชีวภาพ #พลาสติดในทะเล #นักวิจัยญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น ผลิตไบโอพลาสติกชนิดใหม่

ย่อยสลายรวดเร็วในน้ำทะเล

 

ขยะพลาสติก ยังคงเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เรื้อรังของโลก และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาทางทะเลอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยล่าสุดของทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโกเบ ได้พัฒนาไบโอพลาสติกชนิดใหม่ที่ไม่เพียงแต่ทนทานเท่านั้น แต่ยังสลายตัวได้อย่างรวดเร็วในน้ำทะเลและยังสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย โดยได้ตั้งความหวังไว้ว่าสักวันหนึ่งน้ำทะเลในมหาสมุทรของโลกจะเป็นสถานที่กำจัดขยะพลาสติกได้

 

ศาสตราจารย์ เซอิจิ ทากูจิ จากมหาวิทยาลัยโกเบ กล่าวว่า การพัฒนาไบโอพลาสติกชนิดใหม่ จะช่วยยับยั้งภาวะโลกร้อน และได้เริ่มด้านการผลิตที่รัฐบาลสนับสนุนไปสู่ระดับอุตสาหกรรม โดย ไบโอพลาสติกชนิดใหม่นี้ทำจากกรดโพลีแลกติก ซึ่งเป็นโพลีเอสเตอร์ชนิดหนึ่งที่สกัดได้มาจากพืช เช่น อ้อย และข้าวโพด

 

โดย กรดโพลีแลกติกหรือที่รู้จักในชื่อโพลีแลคไทด์ ได้รับความสนใจในฐานะวัสดุทางเลือกใช้ผลิตพลาสติดที่ย่อยสลายได้ แต่ยังมีจุดอ่อนในเรื่องความเปราะบาง ซึ่งยากต่อการขึ้นรูปและหลอมละลาย ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง และสามารถทำการผลิตในจำนวนมากได้ ทีมวิจัยจึงได้ใช้แบคทีเรียที่เรียกว่าแลคเตตดีไฮโดรจีเนส ที่สามารถนำมาผลิตพลาสติกได้ และด้วยการดัดแปลงพันธุกรรม ทีมวิจัยจึงสามารถผลิต LAHB ได้ในปริมาณมาก ซึ่งแม้ว่า LAHB โดยตัวมันเองจะมีสีขาวขุ่น แต่ทีมวิจัยได้พัฒนาเป็นโปร่งแสงได้แล้วโดยการเติมกรดพอลิแลกติก

 

จากความสำเร็จดังกล่าว รัฐบาลญี่ปุ่นหวังว่าจะเพิ่มการใช้ไบโอพลาสติกในประเทศไปเป็นจำนวนประมาณ 2 ล้านตันภายในปี พ.ศ.2573

 

ทั้งนี้ จากผลการวิจัยดังกล่าว ทำให้เกิดความหวังที่จะแก้ปัญหาขยะหลาสติกในท้องทะเลได้ในอนาคต ซึ่งในปี 2565 มีขยะพลาสติกทิ้งลงสู่ทะเลสูงถึง 35 ล้านตัน