จีน พลิกโฉมการเลี้ยงหมู
สร้างตึก 26 ชั้น ผลิตได้ครั้งละ 1.2 ล้านตัว
อาคารเลี้ยงสุกรสูง 26 ชั้นถูกนำมาใช้ในหูเป่ย โดยหมูชุดแรกจำนวน 3,700 ตัว ได้อาศัยอยู่ในห้องเลี้ยงที่ทันสมัย เมื่ออากาศร้อน หรือหนาว ก็มีระบบปรับอากาศ และความชื้นที่เหมาะสม ช่วยให้หมูอยู่ได้อย่างสบาย รวมทั้งมีการให้อาหารอัตโนมัติ และอื่นๆ อีกมากมาย ระบบฆ่าเชื้อโรคช่วยให้อากาศสดชื่นตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สมควรได้รับความสนใจไม่ใช่เพียงวิธีการเลี้ยงหมูเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแนวคิดเบื้องหลังด้วย นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงจากแนวคิดด้านเกษตรกรรมไปสู่แนวคิดเชิงอุตสาหกรรม และการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมการเพาะพันธุ์แบบดั้งเดิมแปรเปลี่ยนเป็นทิศทางที่ชาญฉลาดและเป็นสีเขียว เพราะสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหารของทั้งประเทศ
โดย อาคารเลี้ยงหมูที่หูเป่ยทั้ง 2 อาคารนี้ คาดว่าจะผลิตสุกรได้ 1.2 ล้านตัวต่อปี ซึ่งการเลี้ยงสุกรในอาคารช่วยแก้ปัญหาการใช้ที่ดิน ซึ่งอาคารฟาร์มหมู 26 ชั้น แห่งนี้ใช้พื้นที่เพียง 5% ของรูปแบบการเลี้ยงหมูแบบดั้งเดิม ซึ่งช่วยประหยัดพื้นที่ได้ถึง 95%
ลูกสุกรที่อยู่ในอาคารเลี้ยงสุกรนั่งอยู่ใน “ห้องลิฟต์” ลิฟต์บรรทุกสินค้า สามารถขนส่งสุกรได้ครั้งละหลายสิบตัว (ภาพออนไลน์)
สำหรับ หมูที่เลี้ยงในอาคารนี้ จะได้รับการปรับปรุงคุณภาพชีวิตที่ดี ที่สำคัญกว่านั้น การย้ายหมูเข้าไปในอาคารอุตสาหกรรมหลายชั้นยังนำความสะดวกสบายและผลประโยชน์มากมายมาสู่ผู้เลี้ยงหมู ตัวอย่างเช่น ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ เราสามารถประหยัดต้นทุนค่าแรงได้มาก ในขณะเดียวกันก็ลดความเสี่ยงของโรคสุกรและเพิ่มผลผลิตอีกด้วย
การเลี้ยงหมูรูปแบบใหม่นี้ไม่เพียงแต่ช่วยแก้ปัญหาการใช้ที่ดินได้อย่างมาก แต่ยังช่วยประหยัดกำลังคนอีกด้วย ถือได้ว่าอาจกลายเป็นเทรนด์ใหม่ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงหมู แน่นอนว่าความคิดเห็นบางส่วนชี้ให้เห็นว่าการก่อสร้างอาคารเลี้ยงหมูจำเป็นต้องปรับให้เข้ากับสภาพท้องถิ่น และไม่สามารถติดตามกระแสสุ่มสี่สุ่มห้าได้
ประเทศจีนมีประชากร 1.4 พันล้านคนและยังคงเพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารของผู้คนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่พื้นที่เพาะปลูกและฟาร์มหมูที่ผลิตอาหารก็มีจำกัด ดังนั้นรูปแบบการเลี้ยงแบบใหม่นี้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มความมั่นคงด่านอาหารให้กับประชาชนจีน
ที่มา : https://www.ourchinastory.com/zh/10842