MID จัดอันดับเมืองอัจฉริยะ ปี 67
กทม. ติดอันดับ 84 ของโลก ที่ 3 อาเซียน
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการจัดการ หรือ MID ได้รวบรวมข้อมูลเมืองใหญ่ทั่วโลก 142 เมือง มาจัดอันดับเมืองอัจฉริยะประจำปี 2567 ที่พึ่งประกาศในเดือนเมษายน พบว่า เมืองที่มีคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 1 คือ ซูริก สวิสแลนด์ อันดับ 2 ออสโล นอร์เวย์ อันดับ 3 แคนเบอร์รา ออสเตรเลีย อันดับ 4 เจนีวา สวิสแลนด์ อันดับ 5 สิงคโปร์ อันดับ 6 โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก อันดับ 7 โลซาน สวิสแลนด์ อันดับ 8 ลอนดอน อังกฤษ อันดับ 9 เฮลซิงกิ ฟินแลนด์ และอันดับ 10 อาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
โดยมีเมืองอัจฉริยะที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ส่วนใหญ่จะอยู่ในยุโรป โดยเฉพาะประเทศสวิสแลนด์ติดอันดับถึง 3 เมือง ในขณะที่เอเชียติดอันดับ 2 เมือง ในส่วนของประเทศไทย กรุงเทพอยู่ในอันดับที่ 84 ดีขึ้น 4 อันดับจากปี 2566 ที่อยู่ในอันดับ 88 และอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ อันดับ 5 ของโลก , กัวลาลัมเปอร์ อันดับ 73 ของโลก , กรุงเทพฯ อันดับ 84 ของโลก , ฮานอย อันดับ 97 ของโลก , จาการ์ตา อันดับ 103 ของโลก , โฮจิมินห์ อันดับ 105 ของโลก และมะนิลา อันดับ 121 ของโลก
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตในการจัดอันดับปี 2567 อันดับของไทยใกล้เคียงกับกรุงโตเกียวของประเทศญี่ปุ่น ที่อยู่ในอันดับที่ 86 ต่ำกว่ากรุงเทพฯ 2 อันดับ เมืองเบอมิ่งแฮม อังกฤษ อันดับที่ 83 มิลาน อิตาลี อันดับที่ 91 และเทลอาวีฟ อิสราเอล อันดับที่ 94
สำหรับ ในการจัดอันดับจะใช้ตัวชี้วัดหลักที่สำคัญ คือ 1. ดัชนีเมืองอัจฉริยะของ IMD ปี 2024 ที่ประเมินการรับรู้ของผู้อยู่อาศัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในเมืองของตน 2. SCI ฉบับนี้จัดอันดับ 142 เมืองทั่วโลกโดยรวบรวมการรับรู้ของผู้อยู่อาศัย 120 คนในแต่ละเมือง คะแนนสุดท้ายของแต่ละเมืองคำนวณโดยใช้การรับรู้ของการสำรวจในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยมีน้ำหนัก 3:2:1 สำหรับปี 2024:2023:2021
3 มีเสาหลักสองประการ คือ เสาโครงสร้างหมายถึงโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ของเมือง และเสาเทคโนโลยีที่อธิบายข้อกำหนดและบริการทางเทคโนโลยีที่มีให้กับผู้อยู่อาศัย 4 แต่ละเสาหลักได้รับการประเมินในห้าประเด็นสำคัญ ได้แก่ สุขภาพและความปลอดภัย ความคล่องตัว กิจกรรม โอกาส และการกำกับดูแล 5 เมืองต่างๆ แบ่งออกเป็นสี่กลุ่มตามคะแนนดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) ของ Global Data Lab ของเมืองที่พวกเขาอยู่
6 ภายในกลุ่ม HDI แต่ละกลุ่ม เมืองจะได้รับ ‘ระดับการให้คะแนน’ (AAA ถึง D) ตามคะแนนการรับรู้ของเมืองที่กำหนด เปรียบเทียบกับคะแนนของเมืองอื่นๆ ทั้งหมดภายในกลุ่มเดียวกัน และ 7 การจัดอันดับจะแสดงในสองรูปแบบ คือ การจัดอันดับโดยรวม (1 ถึง 142) และการจัดอันดับสำหรับแต่ละเสาหลักและโดยรวม
ในส่วนของ กรุงเทพฯ เคยอยู่สูงสุดในอันดับ 78 เมื่อปี 2563 จากนั้นก็ลดลงเรื่อย ๆ และพึ่งกระเตื้องขึ้นมาในปีนี้ และถูกจัดอยู่ในกลุ่ม 3 มีปัจจัยเมืองอัจฉริยะ และโครงสร้างพื้นฐานอยู่ในระดับ CCC และปัจจัยในด้านเทคโนโลยีในระดับ อย่างไรก็ตาม ในการจัดเรตติ้งของโครงสร้างกรุงเทพฯ คะแนนจะอยู่ในระดับค่ากลางของกลุ่ม 3 แต่เรตติ้งในด้านเทคโนโลยีจะมีคะแนนสูงกว่าในกลุ่ม 3 อย่างเห็นได้ชัด
นอกจากนี้ จากการสำรวจผู้ตอบแบบสอบถามถึงปัญหาสำคัญของเมืองกรุงเทพฯ จากตัวบ่งชี้ 15 ตัว ผู้ตอบแบบสำรวจถูกขอให้เลือก 5 ตัวที่พวกเขามองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุดสำหรับเมืองกรุงเทพฯ พบว่า ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหามลพิษทางอากาศ 64% รองลงมาเป็นความปลอดภัย 54% คอรัปชั่น 47% ความแออัดของถนน 45% สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน 39% การขนส่งสาธารณะ 35%